
อดีตผู้พิพากษา “ชนบท ศุภศรี” โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กกฎหมายชนบท ถึงการดำเนินคดีอาญา “คดีแตงโม” ว่า หากราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาว่า มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ศาลต้อง “ไต่สวนมูลฟ้อง” ก่อนเสมอ
.
ความ ย า ก จึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้ศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณา จึงขึ้นอยู่ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์จะต้องนำ พ ย า น บุคคลและ พ ย า น วัตถุรวมทั้ง พ ย า น เอกสาร คนใดหรือชิ้นใด เข้าสู่การพิจารณาของศาล และผู้ถูกฟ้องมีสิทธิที่จะให้ ท น า ย ความเข้าถามค้าน พ ย า น ห ลั ก ฐ า น ของโจทก์ได้
.
ดังนั้น ในการฟ้องโจทก์ “คดีแตงโม” สามารถจะ เ ลื อ ก ฟ้องได้ คือ
1. ตาม ป.อ.มาตรา 288 “ผู้ใดกระทำผู้อื่นถึงแก่ชีวิต”
2. ตาม ป.อ.มาตรา 289(7)” ผู้ใดกระทำผู้อื่นถึงแก่ชีวิตเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้”
3. ตาม ป.อ.มาตรา 290 “ผู้ใดไม่เจตนากระทำแต่ ทำ ร้ า ย ผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความ ต า ย ”
อดีตผู้พิพากษา “ชนบท ศุภศรี” ระบุด้วยว่า หาก แม่แตงโม ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ และนายอัจฉริยะ มาปรึกษา ตนเองก็จะให้คำปรึกษาถึงข้อดีและข้อ เ สี ย ให้ฟัง ส่วนจะ เ ลื อ ก ข้อหาหรือฐานความผิดใดก็ขึ้นอยู่กับ พ ย า น ห ลั ก ฐ า น ที่จะนำเสนอศาล ซึ่งไม่นานเกินรอ
.
อดีตผู้พิพากษา ชนบท ได้ระบุทิ้งท้ายด้วยว่า จะให้คำปรึกษาอย่างอื่น (ที่คาดไม่ถึง) แถมให้อีก เวลามีจำกัด
#อดีตผู้พิพากษา
#คดีแตงโม